วันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู

...ขอต้อนรับทุกคนสู่เว็บบล็อกของRungtiwa...



คำอธิบายรายวิชา
.....ความรู้พื่นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ไมโครซอฟท์คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ระบบการสื่อสารข้อมูล ระบบเน็ตเวิร์คระบบซอฟท์แวร์ การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ เครื่องมือการเข้าถึงสารสนเทศ ทักษะการเข้าถึงสารสนเทศ ฐานข้อมูลสารสนเทศ ห้องสมุดอิเล็กทรกนิกส์และการอ้างอิง ฝึกปฎิบัติการ สามารถใช้คอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐานและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างเหมาะสมได้

วัตถุประสงค์
.....เมื่อผู้เรียนศึกษาเนื้อหาบทเรียนจบแล้วตามหลักสูตรจะมีพฤติกรรมหรือความสามารถดังนี้

1. อธิบายความหมาย ความสำคัญ และองค์ประกอบของเทคโนโลยีสานสนเทศได้
2. อธิบายความสันพันธ์ของเทคโนโลยีสารสนเทศได้
3. ยกตัวย่างเทคโนโลยีสารสนเทศได้และการสื่อสารในชีวิตจริงได้
‎4. อธิบายความหมายและความสำคัญของวิธีระบบได้
5. อธิบายความสันพันธ์ของวิธีระบบกับเทคโนโลยีสารสนเทศได้

6. บอกความหมายและองประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ได้

‎7. อธิบายหน้าที่ขององค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ได้
8. บอกประเภทและคุนสมบัติของซอฟแวร์แต่ละประเภทได้

9. บอกความหมายและความสำคัญของอินเตอร์เน็ตได้
10. บอกความสำพันธ์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
11. อธิบายแหล่งเรียนรู้ต่างๆที่สามารถเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายได้

‎12. อธิบายวิธีประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษาได
13. ยกตัวอย่างโปรแกรมต่างๆที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนได้
14. สร้างสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนได้
15. นำสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งที่เป็นสื่อทั่วไปและสื่อระบบเครือข่าย


....ให้นักศึกษาอ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคำถามให้ได้ใจความ...

....1. คำว่าเทคโนโลยี หมายความว่าอย่างไร

....2. คำว่าเทคโนโลยีสารสนเทศหมายความว่าอย่างไร




...ความซื่อสัตย์คืออะไรเอ่ย!...
 ศึกษา ความหมายของคำว่าความซื่อสัตย์     
         ความซื่อสัตย์ หมายถึง ประพฤติตรงไม่เอนเอง ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม มีความ
จริงใจปลอดจากความลำเอียงหรืออคติ
        คุณลักษณะพฤติกรรมของผู้มีความซื่อสัตย์ คือ ผู้ที่มีความประพฤติตรงทั้งหน้าที่ต่อวิชาชีพ ตรงต่อเวลา ไม่ใช้เล่ห์กลคดโกง ทั้งทางตรงและทางอ้อม รับรู้หน้าที่ของตนเอง ปฏิบัติงานอย่างเต็มที่และถูกต้อง
        ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นส่วนหนึ่งของความจริงใจ การที่เราจะมีความซื่อสัตย์ต่อผู้อื่น เราต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองเสียก่อน แท้จริงแล้วเราไม่จำเป็นต้องมีความซื่อสัตย์หรอก แต่ให้เป็นคนมีความจริงใจก็สามารถมีความซื่อสัตย์ได้แล้ว เพราะเมื่อเรามีความจริงใจผลพลอยได้คือความซื่อสัตย์ การที่เรามีความซื่อสัตย์ต่อผู้อื่นไม่ได้ ก็เพราะขาดความซื่อสัตย์ต่อตนเองธรรมะว่าด้วยความซื่อสัตย์ก็มีลักษณะเหมือนธรรมะข้ออื่น คือต้องทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นโดยเริ่มต้นที่ตนเองก่อน คนถ้าไม่ซื่อสัตย์ต่อตนเองแล้ว โดยมักคิดว่าถ้าตนเองทำอะไรผิดแล้วปกปิดไว้มิให้คนอื่นล่วงรู้ในสิ่งที่ตนทำ โดยมักจะคิดว่าถ้าไม่บอกว่าเราทำอะไรผิดบ้างคนอื่นก็จะไม่รู้ นี่คือความไม่ซื่อสัตย์ต่อตนเอง การทำให้ตนมีความซื่อสัตย์อย่างแท้จริงนั้นเป็นเรื่องยาก คนที่จะมีความซื่อสัตย์ได้นั้นต้องมีความจริงใจต่อตนเอง ถ้าจะให้ดีคือต้องกล้าประจานความชั่วที่ตนมีต่อหน้าผู้อื่น


Integrity
.... is a concept of consistency of actions, values, methods, measures, principles, expectations, and outcomes. In ethics, integrity is regarded as the honesty and truthfulness or accuracy of one's actions. Integrity can be regarded as the opposite of hypocrisy, in that it regards internal consistency as a virtue, and suggests that parties holding apparently conflicting values should account for the discrepancy or alter their beliefs. The word "integrity" stems from the Latin adjective integer (whole, complete). In this context, integrity is the inner sense of "wholeness" deriving from qualities such as honesty and consistency of character. As such, one may judge that others "have integrity" to the extent that they act according to the values, beliefs and principles they claim to hold. A value system's abstraction depth and range of applicable interaction may also function as significant factors in identifying integrity due to their congruence or lack of congruence with observation. A value system may evolve over time  while retaining integrity if those who espouse the values account for and resolve inconsistencies.






 วิเคราะห์ เปรียบเทียบความหมายกับคำอื่นๆที่มีความหมายใกล้เคียงกัน
คุณธรรมและจริยธรรม
      คุณธรรม ประกอบด้วยคำสองคำ คือ คำว่า คุณ แปลว่า ประโยชน์ และคำว่า ธรรม ในทำนองเดียวกันกับคำว่า จริยธรรม ก็ประกอบด้วยคำว่า จริย แปลว่า ความประพฤติที่พึงประสงค์ ทั้งคุณธรรมและจริยธรรม มีคำว่า ธรรม เป็นคำร่วม ซึ่ง พระเทวินทร์ เทวินโท (2544) อธิบายความหมายของคำว่าธรรม ว่า หมายถึง ความจริง ความประพฤติดี ความถูกต้อง คุณความดี ความชอบ คำสั่งสอน ดังนั้นเพื่อความเข้าใจในความหมายของทั้งสองคำนี้จึงควรพิจารณาคำนิยามตามแนวทัศนะของจริยศาสตร์และสังคมศาสตร์ควบคู่กันไปด้วย




  ความยุติธรรม


         ความยุติธรรม เป็นสิ่งที่เราแสวงหาและต้องการความยุติธรรม ความยุติธรรม คืออะไร อันนี้ตอบยาก ความยุติธรรมกับความเสมอภาค ไม่เหมือนกัน ความยุติธรรม ต้องให้คนได้รับสิ่งที่เขาควรจะได้รับ ถ้าเขาควรได้รับรางวัลก็ให้รางวัล ถ้าเขาควรได้รับโทษ ก็ให้ได้รับโทษ นี่เรียกว่าความยุติธรรม วามยุติธรรมจริงๆนั้นคืออะไร ส่วนมากใครที่ได้รับผลประโยชน์ คนนั้นก็ว่ายุติธรรม คนเสียประโยชน์เขาก็ว่าไม่ยุติธรรม ถ้าอย่างนั้น ความยุติธรรมจริงๆคืออะไร บอกไปนิดหนึ่งแล้วว่า ในภาคปฏิบัติ ต้องให้เขาได้รับสิ่งที่ควรได้รับ ถ้าเขาควรได้รับรางวัลก็ให้เขารับรางวัล ถ้าเขาควรได้รับโทษ ต้องให้เขาได้รับโทษ บางคนบอกว่าความยุติธรรมจริงๆไม่มี หรือมี แต่ไม่รู้อะไร ความยุติธรรมเป็นสากล เป็นจริงในตัวเอง หรือว่าไม่เป็นสากล ไม่เป็นจริงในตัวเอง หรือว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ มันเป็นสิ่งที่แล้วแต่ใครเป็นคนตัดสิน มนุษย์เราโดยปกติ โดยทั่วไปมีอคติ เข้าข้างตัวเองบ้าง เข้าข้างพวกพ้องของตัวเองบ้าง ทั้งยังเกลียดชังผู้อื่นและพวกอื่น

 ประโยชน์และคุณค่า ของความซื่อสัตย์
1. ย่อมเป็นผู้ที่บุคคลอื่นเคารพนับถือ
2. เกิดความสงบสุขในสังคมไทย
3. เป็นการฝึกตนเอง
4. ดำรงชีวิตอย่างมีความสุข


 ศึกษา พฤติกรรม ความซื่อสัตย์จากสื่อ ICT โดยวิเคราะห์ให้ตรงกับความหมาย
      ความซื่อสัตย์ เป็นคุณธรรมที่จำเป็นต่อสังคม ไม่ว่าจะเป็น ความเชื่อสัตย์ในระดับไหนก็ตาม จะต้องมีการปลูกฝังหรือสอนเยาวชนรุ่นหลังให้ประพฤติปฏิบัติ  ทั้งนี้เพราะหากคนในสังคมขาดคุณธรรมข้อนี้เมื่อใด สังคมก็จะวุ่นวาย ไม่สงบ คนจะเอารัดเอาเปรียบกัน และเห็นความเห็นแก่ตัวมากขึ้นจนก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมาอีกมากมาย
     การไม่ซื่อสัตย์ต่อตนเอง เช่น  เราตั้งใจว่าจะไม่กินของหวานของมันเพื่อลดน้ำหนักแต่เราก็แอบกิน  แม้คนอื่นไม่ทราบ แต่เราก็รู้ตัวเราดี ผลเสียคือ เราจะอ้วนและเป็นโรคอื่นตามมา หรือตั้งใจจะอ่านหนังสือแล้วก็ไม่อ่าน เพราะมัวไปเที่ยวเล่นดูหนังหรือเล่นเน็ต ผลเสียคือ เราอาจจะสอบตก ซึ่งหากเราเกิดความซื่อสัตย์ต่อตนเอง และผัดผ่อนไปเรื่อยๆ ในระยะยาวเราอาจจะกลายเป็นคนขาดระเบียบ ขาดความตั้งใจ กลายเป็นคนทำอะไรไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต

ศึกษา "เนื้อหาสาระ" เกี่ยวกับความซื่อสัตย์จากวรรณกรรม/สุภาษิต/คำพังเพย
     ตัวเป็นเกลียว                  : ขยันทำงาน
     ชาติเสือจับเนื้อกินเอง      : ไม่เบียดเบียนใคร
      บุกป่าฝ่าดง                     : พยายามต่อสู้อุปสรรคต่างๆ
      ชายหาบหญิงคอน          : ช่วยกันทำมาหากินทั้งผัวทั้งเมีย
       โยนกลอง                      : โยนความผิดให้ผู้อื่น
        หน้าซื่อใจคต                : มีหน้าตาซื่อตรง แต่ในใจคิดร้าย
      เตี้ยอุ้มค่อม                     : เป็นสำนวนที่หมายถึง คนที่มีฐานะยากจนอยู่แล้ว ยังอุตส่าห์ไปช่วยคนที่ยากจนกว่าตนเข้าอีก เท่ากับ เตี้ยอุ้มค่อมคือ ยิ่งทำให้ตัวเองแย่ลงไปอีก หรือจะเปรียบได้อีกทางหนึ่งว่าคนที่ทำงานหรือทำอะไรเป็นภาระใหญ่มากมายเกินสติกำลังของตน ซึ่งไม่แน่ว่าจะทำไปได้ตลอดหรือไม่